บทความ ด้านการบริหารงานและพัฒนาองค์กร จาก www.bctd.co.th
   

 

 

  PA, PMS, SPMS เหมือนกันมั๊ย? แค่ตั้งชื่อให้ดูแพง หรืออย่างไร?

ถ้าผมแบ่งกลุ่มจาก ลักษณะการทำระบบขององค์กรต่างๆที่ผ่านมา ในประสบการณ์ของผม ที่วนเวียนกับเรื่องนี้เป็นหลัก
(ขอไม่อ้างอิงหลักวิชาการใดๆนะครับ เขียนจากประสบการณ์ล้วนๆ)
...
สิ่งผมขอแยกความแตกต่างของ 3 ระบบนี้ให้เห็น ซึ่งหลายๆองค์กร ก็อาจเข้าใจว่ามันคือเรื่องเดียวกัน เพียงแต่ตั้งชื่อให้มันเท่ห์ขึ้น จะได้ดูแพงเท่านั้นเอง 555
...
ความเข้าใจว่าแค่ชื่อต่างกัน หรือตามหลักทฤษฎีว่ามันต่างกันอย่างไร ผมคงไม่ไปวิจารณ์ เพราะผมไม่ใช่นักวิชาการคงให้คำจำกัดความแบบนั้นไม่เป็น
....
แต่ผมขอแยกตามรูปแบบที่บฏิบัติกัน และผลลัพธ์ที่ต่างกันอย่างสิ้นเชิง ของ 3 ระบบนี้

++++++++++++++++++++

PA (Performance Appraisal) การประเมินผลงาน
...
องค์กรใดก็ตาม ที่สนใจแค่ ให้มีผลประเมินการทำงาน เพื่อเอาไว้จ่ายเงินเดือนและโบนัส ก็จะอยู่ในกลุ่มนี้
ลักษณะการทำระบบคือ...
แจกแบบฟอร์มประเมินผล ให้ผู้จัดการ และหัวหน้างานแต่ละแผนก ให้กำหนดหัวข้อประเมินผลงานของแต่ละตำแหน่งมา
จะเป็น KPI หรือ Competency ก็ว่าไป ซึ่งถ้ารุ่นเก่าๆ ก็จะประเมินพฤติกรรม หรือ ความสามารถเป็นหลัก
...
แต่สรุปคือ แค่ให้มีเกณฑ์เอาไว้ตัดเกรด ว่าใครได้เกรดไหน จะขึ้นเงินเดือนเท่าไหร่ โบนัสเท่าไหร่
ที่เห็นบ่อยๆคือ อยากจะทำแบบประเมินช่วงไหนก็ทำ 555
บางที่ก็ทำแบบประเงินกันปลายปี ก่อนประเมินนั่นแหละ
เขียนแบบประเมินเสร็จ ก็ประเมินกันเลย
...
ผลลัพธ์คือ ผู้บริหารเองก็รู้สึกว่ามันไม่โอเค พนักงานก็รู้สึกไม่เข้าท่า แต่ทำกันมานาน เลยไม่รู้จะปรับอย่างไร

+++++++++++++++++++

PMS(Performance Management Systems)
การบริหารผลงาน
...
บางองค์กร ใช้ชื่อ PMS แต่ยังทำระบบเหมือน PA อันนั้นก็ว่ากันไป
...
PMS คือองค์กร ที่พยายามทำเรื่องของ ตัวชี้วัด (KPI : Key Performance Indicator) ให้สอดคล้องกันมากขึ้น กำหนด KPI แบบมีที่มาที่ไป มีเหตุผลมีหลักการมากขึ้น
แนวทางคือ บริษัทจะเอาเป้าหมาย/ตัวชี้วัดองค์กร เป็นตัวตั้ง แล้วมอบหมายให้กับ ผู้บริหารระดับต่างๆลงไป โดยให้สอดคล้องกับขององค์กร แล้วค่อยทำแบบประเมินผลงานรายตำแหน่ง
...
ซึ่งนอกจาก การกำหนด KPI การทำแบบประเมินผลงานแล้ว
องค์กรกลุ่มนี้ ยังคำนึงถึง แนวทางการทำงานให้บรรลุเป้าหมาย และการเชื่อมโยงถึงการจ่ายผลตอบแทนที่สมเหตุสมผลมากขึ้นด้วย
หรืออาจสรุปได้ว่า PMS ควรพูดถึง 3 ส่วนหลักๆ
คือ

1) Goal/KPI Setting (ระดับ องค์กร,หน่วยงาน และระดับบุคคล)
2) Action Plan (เพื่อให้มีแผนชัดเจน ช่วยให้บรรลุเป้าหมาย)
3) PA การประเมินผลงานรายบุคคล
(โดยทั่วไป หลายบริษัทแยก Action Plan กับ PMSเพราะโดยทั่วไปจะมองว่า PMS คือ PA ก็ไม่มีปัญหาอะไร แต่ขอให้มี แผนทำงานจะเรียกว่าอยู่ระบบไหนก็ช่างมัน)
...
ซึ่งผลลัพธ์คือ บริษัทได้เป้าหมาย/ตัวชี้วัด ที่สอดคล้องกันมากขึ้น มีโอกาสบรรลุเป้าหมายมากขึ้น เพราะทำอย่างเป็นขั้นตอน
...
แต่ก็อย่างที่กล่าวไว้ บางบริษัทใช้ชื่อ PMS แต่ทำงานเหมือน PA เป๊ะเลย ก็ว่ากันไปครับ

+++++++++++++++++++++

SPMS (Strategic Performance Management Systems)
การบริหารผลงานเชิงกลยุทธ์
...
ระบบนี้คือระบบใหญ่ที่ครอบคลุมที่ว่ามาทั้งหมด โดยประกอบด้วยหลายกระบวนการย่อย คือ

1) Strategic Planning การวางแผนกลยุทธ์ 3-5 ปี
ว่าตั้งแต่ทบทวนกำหนด วิสัยทัศน์ พันธ์กิจ ยุทธ์ศาสตร์ธุรกิจ
แล้วทำเป้าหมายและแผนกลยุทธ์ขององค์กร ให้ชัดเจนในช่วงระยะเวลาที่บริษัทต้องการ เพื่อให้ได้เป้าหมายและแนวทางชัดเจนบริษัทต้องการอะไร มีแนวทางกลยุทธ์หลักในการดำเนินธุรกิจอย่างไรในระะเวลาดังกล่าว

2) Goal/KPI Setting การกำหนดเป้าหมายและตัวชี้วัด
คือการกำหนดเป้าหมาย/ตัวชี้วัด ตั้งแต่ระดับองค์กร และกระจายมอบหมายเป้าหมายลงมาสู่ตำแหน่งและฝ่ายต่างๆตามลำดับ เพื่อให้เป้าหมายสอดคล้องกันทั้งองค์กร และได้เป้าหมายที่สมเหตุสมผล

3) Strategic Action Plan การจัดทำแผนปฏิบัติการเชิงกลยุทธ์
คือการคิดกลยุทธ์เพื่อบรรเป้าหมายย่อยต่างๆ ขององค์กรและหน่วยงาน ซึ่งต้องตอบโจทย์วิสับทัศน์ เป้าหมาย และสอดคล้องกับแผนกลยุทธ์องค์กรเป็นสำคัญ และแปลงกลยุทธ์ต่างๆเป็นแผนปฏิบัติการที่ชัดเจน ติดตามผลและแผนงานได้ทุกระยะ

4) Performance Appraisal การประเมินผลงาน
คงไม่กล่าวซ้ำ ซึ่งขอเพิ่มแค่เพียงว่า แบบฟอร์ประมินต่างๆต้องกำหนดกันตั้งแต่ต้นปีที่ทำงาน เพื่อให้ทุกตำแหน่งรู้ว่าเขาต้องรับผิดชอบ KPI ข้อใดบ้างถูกประเมินเรื่องอะไรบ้าง และใช้เป็นเครื่องมือในการบริหารผลงานของแต่ละระดับอย่างแท้จริง

6) Implementation การดำเนินการระบบ สรุปสั้นคือ ทุกระบบที่วางไว้ต้องถูกนำมาให้ในการบริการการทำงานตลอดทั้งปี การมอบหมายเป้าหมาย การควบคุมติดตามการทำงาน การประเมินผล ปรับปรุงพํฒนาการทำงาน และพัฒนาบุคลากรต่างๆ
เพื่อให้บริษัท มีโอกาสบรรลุเป้าหมายในด้านต่างๆ ที่กำหนดไว้ให้มากที่สุด

7) เชื่อมโยง SPMS กับระบบอื่นๆ เช่นเครื่องมือการบริหารจัดการต่างๆของบริษัท ระบบบริหารบุคลากรพัฒนาการทำงานต่างๆ รวมถึงการบริหารผลตอบแทน เพราะ SPMS คือระบบบริหารภาพรวมของบริษัท เพราะทุกอย่างทำเพื่อให้บริษัทบรรลุ วิสัยทัศน์และเป้าหมาย ที่กำหนดไว้
....
ผลลัพธ์ของ SPMS คือความสำเร็จขององค์กร เพราะมันคือภาพการบริหารภาพรวมขององค์กร ว่าด้วยการกำหนดเป้าหมาย ทิศทางและวิธีการปฏิบัติที่ชัดเจน
++++++++++++++++++++++++
ที่สำคัญที่สุด คือเจ้าภาพของระบบต่างๆ
สิ่งที่เรามักเห็นประจำในองค์กรคือ
PA เจ้าภาพคือ HR
PMS ก็จะเป็น HR กับ ผู้บริหารหน่วยงาานต่างๆ
แต่ SPMS ไม่ใช่ความรับผิดชอบของฝ่ายงานหรือหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่ง ต้องเป็นของผู้บริหารระดับสูงในองค์กร
เพราะระบบนี้ คือเครื่องมือบริหารความสำเร็จขององค์กร
ให้บรรลุตามวิสัยทัศน์และเป้าหมายที่ตั้งไว้ ตามแผนกลยุทธ์ที่วางไว้
++++++++++++++++++++++++

สิ่งที่ผมรู้สึกเสียดายแทนองค์กรต่างๆ ตลอดเวลาการทำงานที่ผ่านมาคือ หลายๆองค์กร ยังให้ความสำคัญแค่ PA หรือ PMS
แต่ไม่ยังทำระบบ SPMS อย่างจริงจัง
แล้วสุดท้ายก็มาบ่นว่า องค์กรไม่บรรลุเป้าหมาย ไม่เติบโต ไม่ยั่งยืน
.....
อ.ราเชนทร์ พันธุ์เวช
www.chentrainer.com
 
 
  Date:  22/5/2561 10:53:55